ข้อสังเกตบางประการในการใช้ราชาศัพท์

              ม.ล.ปีย์  มาลากุล  ได้ให้ข้อสังเกตและรวบรวมการใช้ราชาศัพท์ที่ไม่ถูกต้องที่พบเห็นกันอยู่เสมอไว้  ดังนี้
                
๑.  ถวายการต้อนรับ ”  “ ถวายความจงรักภักดี ”  ชอบใช้กันมากคำนี้ผิด  ภาษาไทยมีอยู่แล้ว  คือ  เฝ้า ฯ  รับเสด็จ ”  หรือ  รับเสด็จ ”  เช่น  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ  ไปที่ใด  มีราษฎรมาชุมนุมหนาแน่นก็ใช้ว่า  ราษฎรมาเฝ้า ฯ  รับเสด็จ ฯ  อย่างหนาแน่น ”  ความจงรักภักดีเป็นของที่ถวายกันไม่ได้ เป็นสิ่งที่มีประจำตน  จึงควรใช้ว่า  มีความจงรักภักดี ”  หรือ  แสดงความจงรักภักดี
                
๒.  คำกิริยาใดที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว  เช่น  เสด็จ ,  เสวย ,  ตรัส  ห้ามใช้คำ  ทรง ”  นำหน้าจะใช้ทรงเสวย  ทรงเสด็จ  ทรงตรัส  ไม่ได้  แต่ถ้าคำกิริยานั้นเป็นคำไทย  เช่น  ถือ , จับ ,วาด  เมื่อจะใช้เป็นราชาศัพท์เติม  ทรง ”  ข้างหน้าได้  เช่น  ทรงถือ , ทรงจับ , ทรงวาด
                
๓.  การใช้  พระราช ”  หรือ  พระ ”  นำหน้าให้ถือหลักว่า  เฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีใช้  พระราช ”  นำหน้า  เช่น  พระราชหัตถเลขา  พระราชโทรเลข  แต่ถ้าเป็นอวัยวะก็ใช้เพียง  พระ ”  นำหน้า  เช่น  พระหัตถ์  พระกร  พระพาหา  คำนามที่ไม่มีราชาศัพท์ให้ใช้          พระ ”  นำหน้าเป็นราชาศัพท์  เช่น  พระเก้าอี้
                
๔.  การใช้คำ  พระบรม ”  นำหน้านั้นใช้เฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เช่น
พระบรมราชานุเคราะห์  พระปรมาภิไธย  ( พระบรมนามาภิไธย )  พระบรมราโชวาท สำหรับ

สมเด็จพระบรมราชินี  ตัดคำว่า  บรม ”  ออก  เช่น  พระนามาภิไธย  พระราโชวาท ถ้าจะกล่าวว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ  พระบรมราชินีนาถทรงลงชื่อ  ก็ต้องใช้ว่า  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ  พระบรมราชินีนาถทรงลงพระปรมาภิไธยและพระนามาภิไธย
                
๕.  พระราชวงศ์ที่ทรงฐานันดรศักดิ์มีพระนำหน้า  ( พระวรวงศ์เธอ ,  พระเจ้าวรวงศ์เธอ ,  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ , สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ )  ใช้   พระ ”  นำหน้าราชาศัพท์  เช่น  พระหัตถ์  พระกร  ถ้าเป็นชั้นหม่อมเจ้าไม่ต้องมี  พระ ”  นำหน้าใช้เพียงราชาศัพท์เฉย ๆ  เช่น  หัตถ์  กร  เป็นต้น
                 ๖.  เมื่อกล่าวถึงแสดงใด ๆ  ถวายทอดพระเนตรมักจะใช้ว่า  แสดงหน้าพระพักตร์ ”  ซึ่งผิดต้องใช้ว่า  แสดงเฉพาะพระพักตร์ ”  หรือ  แสดงหน้าที่นั่ง
                
๗.  การกล่าวถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ  พระบรมราชินีนาถ  มักใช้กันไม่ถูกต้อง  เช่น  พระเจ้าอยู่หัวและพระราชินี ”  “ ในหลวงและราชินี ”  ใช้เช่นนี้ไม่ถูกต้อง  และไม่งดงามอย่างยิ่ง  การกล่าวขานถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ขอให้ใช้ว่า  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  หรือ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ”  และไม่ควรใช้ว่า  ล้นเกล้าล้นกระหม่อม ”  ซึ่งไม่มีความหมายอะไรเลย  เมื่อจะกล่าวขานถึง  สมเด็จพระนางเจ้า ฯ  พระบรมราชินีนาถ ”  หรือ  สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ”  อย่าใช้คำว่า  พระราชินี ”  หรือ
ราชินี ”  ซึ่งแปลว่าพระเจ้าแผ่นดินผู้หญิง  ถ้าจะเรียกสมเด็จพระราชินีอลิซาเบธเรียกได้  แต่อย่าเรียกสมเด็จพระนางเจ้าอลิซาเบธ  เพราะพระราชสวามีของพระองค์ท่านมิใช่พระมหากษัตริย์  ถ้าจะพูดลำลองว่า  ในหลวง สมเด็จ ”  อย่างนี้ไม่ผิด  สำหรับสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ  ถ้าขานพระนามสั้น ๆ
 ใช้ทูลกระหม่อมชาย  ทูลกระหม่อมหญิง  หรือทูลกระหม่อม  ถ้าจะเรียกพระนามรวมใช้ว่า     สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ  ไม่ใช้ว่า  ฟ้าชาย  ฟ้าหญิง  หรือพระเจ้าลูกยาเธอ  พระเจ้าลูกเธอ  การเรียกทูลกระหม่อมไม่ต้องใช้ว่า  ทูลกระหม่อมฟ้าชาย  ทูลกระหม่อมฟ้าหญิง  เพราะคำว่า  ทูลกระหม่อม  หมายถึงสมเด็จพระราชโอรส  สมเด็จพระราชธิดา  ซึ่งทรงเป็นเจ้าฟ้าอยู่แล้ว  ถ้าทรงเป็นเพียงพระราชโอรส  พระราชธิดา  เรียกลำลองว่า  เสด็จ ”  คำว่า 
เสด็จ ”  ใช้เฉพาะพระราชโอรส  พระธิดา  ซึ่งเป็นพระองค์เจ้าเท่านั้น  แต่พระองค์เจ้าที่มิได้ทรงเป็นพระราชโอรสพระราชธิดาจะเรียกพระองค์ท่านว่า  เสด็จ ”  ไม่ได้

                
๘.  การเรียกคำแทนพระองค์เจ้า  หม่อมเจ้า  หม่อมราชวงศ์ หม่อมหลวง  อย่างลำลองพระองค์เจ้าใช้  พระองค์ชาย  -  พระองค์หญิง , หม่อมเจ้าใช้ ท่านชาย-ท่านหญิง , หม่อมราชวงศ์ใช้  คุณชาย  -  คุณหญิง , หม่อมหลวง ใช้ คุณ ( ทั้งชายและหญิง )
                
๙.  การเรียกราชทินนามหรือสมณศักดิ์  ถ้าเป็นทางการให้เรียกตามราชทินนามหรือสมณศักดิ์นั้น ๆ เช่น  พระยาอนุรักษราชมณเฑียร  ก็เรียก  พระยาอนุรักษราชมณเฑียร  อย่าเรียกเจ้าคุณอนุรักษราชมณเฑียร พระศาสนโสภณ  อย่าเรียกว่า  เจ้าคุณศาสนโสภณ  เว้นแต่การเรียกลำลอง  จะเรียกว่าท่านเจ้าคุณหรือเจ้าคุณนั้นไม่ห้าม  ผู้มีบรรดาศักดิ์เป็นนาย  เช่น  นายจำนงราชกิจ  นายวรการบัญชา  อย่าเปลี่ยนนายเป็นคุณ  เพราะนายเป็นราชทินนาม  บรรดาศักดิ์นายนี้ไม่คุ้นกัน  บางทีก็เขียนแยกเป็นนามกับนามสกุล  เช่น  นายจำนง  ราชกิจ
อย่างนี้ไม่ถูก
  บรรดาศักดิ์ของผู้เป็นราชสกุลอีกอย่างหนึ่งไม่สู้คุ้นกันคือบรรดาศักดิ์  หม่อม ”  เช่น  หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์  หม่อมสนิทวงศ์เสนี  หม่อมในที่นี้เป็นบรรดาศักดิ์  เหมือน  พระ  พระยา  ผู้ที่มีบรรดาศักดิ์หม่อมไม่ใช่เจ้า  เป็นหม่อมราชวงศ์
                
๑๐.  นางสนองพระโอษฐ์  นางพระกำนัล  ถ้าไม่มีฐานันดรศักดิ์เป็นหม่อมราชวงศ์  หรือหม่อมหลวง  ใช้คุณนำหน้าชื่อ  แต่ถ้าเป็นหม่อมราชวงศ์  หม่อมหลวง  ก็ไม่ต้องเปลี่ยนเป็นคุณ
                
๑๑.  สุภาพสตรีที่ได้รับพระราชทานราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า  มักจะเข้าใจว่าต้องเรียกคุณหญิงเสมอ  เป็นการไม่ถูกต้อง  ถ้าสุภาพสตรีนั้นเป็นหม่อมราชวงศ์  หม่อมหลวง  ก็คงเรียก
หม่อมราชวงศ์  หม่อมหลวงตามเดิม  เช่น  หม่อมราชวงศ์เบญจวรรณจักรพันธ์
  เป็นต้น  ถ้าสุภาพสตรีไม่มีฐานันดรศักดิ์  และสมรสแล้วเรียกคุณหญิง  เช่น  คุณหญิงกรันฑ์  สนิทวงศ์ฯ  ถ้ายังไม่ได้สมรสเรียก  คุณ  เช่น  คุณเพียร  เวชบุล  ถ้าได้รับพระราชทานทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ  เป็นท่านผู้หญิงถึงแม้จะมีฐานันดรศักดิ์เดิมเป็นหม่อมหลวง  หม่อมราชวงศ์ก็ตาม  เช่น  ท่านผู้หญิงจงกลกิตติขจร  ท่านผู้หญิงทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ ( หม่อมราชวงศ์พรพรรณ )  แต่ถ้ามีฐานันดรศักดิ์เป็นหม่อมของพระราชวงศ์ไม่เรียกเป็นท่านผู้หญิง  คงเรียกตามฐานันดรเดิม  เช่น  หม่อมหลวงสร้อยระย้ายุคล  เป็นต้น  สุภาพสตรีที่สมรสแล้วแต่ไม่ได้เป็นภริยาของพระยาหรือไม่ได้รับพระราชทานอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า  อย่าเรียกว่า  คุณหญิงคงเป็น  นาง ”  หรือเรียกลำลองก็เรียกว่าคุณนาย
                
๑๒.  คำที่เป็น  คำสั่ง ”  “ คำพูด ”  “ ความดำริ ”  สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวใช้พระบรมราชโองการ ”  “ พระราชกระแส ”  “ กระแสพระราชดำรัส ”  “ พระราชดำริ ”  “ กระแสพระราชดำริ ”  สำหรับสมเด็จพระบรมราชินีใช้เช่นเดียวกัน เว้นแต่คำสั่งใช้ว่า  “ พระราชเสาวนีย์ ”( คำ พระบรมราชโองการ นั้น  ใช้เมื่อทรงรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว )  ขอให้ระมัดระวังการใช้คำว่า  พระบรมราชโองการหรือพระราชเสาวนีย์สองคำนี้เป็นการพูดที่เป็นคำสั่ง  คือ มีผลบังคับ  ไม่ใช่เป็นการพูดธรรมดา  อย่างเช่น  นิสิตกราบบังคมทูลขอให้พูดต้องใช้คำว่า  ขอพระราชทานพระราชกระแส    หรือ  ขอพระราชทานพระกระแสพระราชดำรัส ”  ไม่ใช่ขอพระราชทานพระบรมราชโองการหรือพระราชเสาวนีย์
                
๑๓.  การใช้คำ  ถวาย ”  ถ้าสิ่งของนั้นเป็นของเล็กใช้  ทูลเกล้า ฯ  ถวาย  ถ้าเป็นของใหญ่ใช้  น้อมเกล้าฯ ถวาย ”  หรือ  ถวาย เฉย ๆ
                
๑๔.  คำว่า  บอก ”  มักใช้ผิดเสมอ  คือ  ชอบใช้ว่า  กราบถวายบังคมทูล ”  ที่ถูกต้องใช้ว่า  กราบบังคมทูล ”  เช่น  กราบบังคมทูลถวายรายงาน ”  “ กราบบังคมทูลรายงานกิจการ
                
๑๕.  คำว่า  ขอบใจ ”  ถ้าจะกล่าวว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงขอบใจ  ก็ใช้ว่า  ทรงขอบใจ ”  หรือ  พระราชทานพระราชกระแสขอบใจ ไม่ใช่  ขอบพระทัย”  เว้นแต่ผู้ที่ทรงขอบใจนั้นเป็นพระราชวงศ์จึงใช้  ขอบพระทัย
                
๑๖.  การใช้ราชาศัพท์ต้องระมัดระวังในทุกด้าน  เช่น  ทูลกระหม่อมชายเสด็จร้านค้า เจ้าของร้านถวายหมวกเช่นนี้  จะใช้ถวายพระมาลาไม่ได้  เพราะหมวกนั้นยังไม่ได้เป็นของพระองค์ท่าน  คำว่า  ฉลองพระองค์ระวังอย่าใช้ว่า  ทรงฉลองพระองค์ขาสั้น ”  เพราะฉลองพระองค์  คือ เสื้อ  หรือคำว่าพระภูษา  แปลว่า  ผ้านุ่ง  อย่าใช้ในกรณีแปลว่า  ผ้าคลุม  ต้องใช้ว่า  ทรงพระสนับเพลาขาสั้น ”  “ ผ้าคลุมพระเกศา
                
๑๗.  คำใหม่ ๆ  ที่ไม่มีราชาศัพท์โดยเฉพาะ  เช่น  กระเป๋า  เครื่องสำอาง  ลิปสติก เซ็ทผม  สเปรย์ผม  เมื่อจะใช้ให้เป็นราชาศัพท์  คำใดที่เปลี่ยนได้ก็เปลี่ยน  ที่เปลี่ยนไม่ได้ก็ควรคงรูปศัพท์เดิมไว้  เช่น  กระเป๋าทรงถือ  เครื่องพระสำอาง  ลิปสติก  ทรงแต่งพระเกศาทรงฉีดพระเกศา ทรงฉีดเส้นพระเกศา  เป็นต้น  เรื่องที่มีผู้สงสัยอยู่เสมอ  คือเมื่อกล่าวถึงสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อกล่าวถึงพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ต่างประเทศ  และเมื่อกล่าวถึงตัวละครในวรรณคดีที่เป็นเจ้า  เช่น  อิเหนาจะต้องใช้ราชาศัพท์หรือไม่  ในเรื่องนี้ขอสรุปว่าต้องใช้ตามฐานันดรที่แท้จริง  เว้นแต่คำว่า  บรม  ใช้สำหรับ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทยเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น