ความหมายของราชาศัพท์

                คำราชาศัพท์  คือ  คำสุภาพที่ใช้ให้เหมาะสมกับฐานะของบุคคลต่าง ๆ  คำราชาศัพท์เป็นการกำหนดคำและภาษาที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมอันดีงามของไทย  แม้คำราชาศัพท์จะมีโอกาสใช้ในชีวิตน้อย  แต่เป็นสิ่งที่แสดงถึงความละเอียดอ่อนของภาษาไทยที่มีคำหลายรูปหลายเสียงใน ความหมายเดียวกัน  และเป็นลักษณะพิเศษของภาษาไทย  โดยเฉพาะซึ่งใช้กับบุคคลกลุ่มต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
                 ๑.  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
                 ๒.  พระบรมวงศานุวงศ์
                 ๓.  พระภิกษุสงฆ์ สามเณร
                 ๔.  ขุนนาง ข้าราชการ
                 ๕.สุภาพชน

              บุคคลในกลุ่มที่  ๑  และ  ๒  จะใช้ราชาศัพท์ชุดเดียวกัน  เช่นเดียวกับบุคคลในกลุ่มที่  ๔ และ  ๕  ก็ใช้คำราชาศัพท์ในชุดเดียวกันและเป็นคำราชาศัพท์ที่เราใช้อยู่เป็นประจำใน  สังคมมนุษย์เราถือว่าการให้เกียรติแก่บุคคลที่เป็นหัวหน้าชุมชน  หรือผู้ที่ชุมชนเคารพนับถือนั้นเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของมนุษยชาติ  ทุกชาติ  ทุกภาษา  ต่างยกย่องให้เกียรติแก่ผู้เป็นประมุขของชุมชนด้วยกันทั้งสิ้น  ดังนั้นแทบทุกชาติ  ทุกภาษาจึงต่างก็มี  
คำสุภาพ  สำหรับ  ใช้กับประมุขหรือผู้ที่เขาเคารพนับถือ  จะมากน้อยย่อมสุดแต่ขนบประเพณีของชาติ  และจิตใจของประชาชนในชาติว่ามีความเคารพในผู้เป็นประมุขเพียงใด  เมืองไทยเราก็มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของชาติ  และพระประมุขของเรา  แต่ละพระองค์ทรงพระปรีชาสามารถ  จึงทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีความ  เคารพสักการะอย่างสูงสุดและมีความจงรกภักดีอย่างแนบแน่นตลอดมานับตั้งแต่  โบราณกาลจนถึงปัจจุบันคำราชาศัพท์เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยใด
              ในแหล่งอ้างอิงบางฉบับได้ให้ข้อสันนิษฐานไว้ว่า  คนไทยเริ่มใช้คำราชาศัพท์ในรัชสมัย
พระธรรมราชาลิไท  พระร่วงองค์ที่  ๕  แห่งสุโขทัย  เพราะศิลาจารึกต่างในแผ่นดินนั้น  รวมทั้งบทพระราชนิพนธ์ของท่าน  คือ  ไตรภูมิพระร่วง  ปรากฏว่ามีคำราชาศัพท์อยู่หลายคำ  เช่น  ราชอาสน์  พระสหาย  สมเด็จ  ราชกุมาร  เสด็จ  บังคม  เสวยราชย์  ราชาภิเษก  เป็นต้น
              บางท่านกล่าวว่า  คำราชาศัพท์นั้นเริ่มใช้ใน
สมัยกรุงศรีอยุธยา  เพราะพระปฐมบรมกษัตริย์ที่ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยา  ทรงนิยมเขมร  ถึงกับเอาลัทธิและภาษาเขมรมาใช้  เช่น  เอาคำว่า  "สมเด็จ"  ซึ่งเขมรใช้เป็นคำนำพระนามพระเจ้าแผ่นดินมาเป็นคำนำพระนามของพระองค์ และใช้ภาษาเขมรเป็นราชาศัพท์
              และจากหลักฐานที่พบข้อความในศิลา  จารึกวัดศรีชุม กล่าวถึงเรื่องตั้งราชวงศ์และเมืองสุโขทัยตอนหนึ่งมีความว่า "พ่อขุนผาเมืองจึงอภิเษกพ่อบางกลางหาวให้เมืองสุโขทัย"  คำว่า  "อภิเษก" นี้เป็น
ภาษาสันสกฤต  ไทยเรารับมาใช้สำหรับพิธีการแต่งตั้งตำแหน่งชั้นสูง  จึงอยู่ในประเภทราชาศัพท์  และพิธีนี้มีมาตั้งแต่ราชวงศ์สุโขทัย  จึงน่าสงสัยว่าในสมัยนั้นอาณาจักรสุโขทัยนี้  ก็คงจะมีการใช้คำราชาศัพท์บางคำกันแล้ว

ภาษาที่ใช้ราชาศัพท์
              คำราชาศัพท์มิได้มีที่มาจากภาษาไทยภาษาเดียว  ด้วยว่าการใช้คำราชาศัพท์เป็นการใช้ด้วยตั้งใจ  จะทำให้เกิดความรู้สึกยกย่อง  เทิดทูน  จึงได้เจาะจงรับคำในภาษาต่าง ๆ  ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับไทยมาใช้เป็นพิเศษ  โดยเฉพาะภาษาที่นับถือกันว่าเป็นภาษาสูงและศักดิ์สิทธิ์ คำราชาศัพท์ส่วนใหญ่จึงมีที่มาจากภาษาต่างประเทศมากมาย  อย่างไรก็ตามก็ยังมีคำราชาศัพท์จำนวนไม่น้อยที่ใช้คำภาษาไทยแท้  ซึ่งเป็นคำสามัญยกระดับขึ้นเป็นคำราชาศัพท์  ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าคำราชาศัพท์นั้นมีที่มาจากทั้งภาษาต่างประเทศและภาษาไทยของเราเอง
              ตั้งแต่สมัยโบราณมา  คนไทยได้ติดต่อกับคนต่างชาติต่างภาษามากมาย  ในบรรดาภาษาทั้งหลายเหล่านั้น  มีบางภาษาที่เรายกย่องกันว่าเป็นภาษาสูงและศักดิ์สิทธิ์  ซึ่งก็ได้แก่  ภาษาเขมร บาลี  และสันกฤต  ภาษาอื่น ๆ  ก็นำมาใช้เป็นคำราชาศัพท์บ้าง  แต่ก็ไม่มากและสังเกตได้ชัดเจนเท่า ๓  ภาษาที่กล่าวแล้ว

การเรียนรู้เรื่องราชาศัพท์
             
ตามที่หลายคนคิดว่าคำราชาศัพท์เป็นเรื่องของในรั้วในวัง  เป็นเรื่องของผู้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทนั้น  ทำให้คิดต่อไปอีกว่า  คำราชาศัพท์เป็นเรื่องยากซึ่งเมื่อก่อนอาจเป็นจริง  แต่ปัจจุบันคำราชาศัพท์เป็นเรื่องในชีวิตประจำวันไปเสียแล้ว  แม้มิได้ใช้มากเท่ากับภาษาสามัญที่ใช้อยู่ในการดำรงชีวิตประจำวันแต่ทุกคน  โดยเฉพาะผู้มีการศึกษาก็ต้องมีโอกาสที่จะสัมผัสกับคำราชาศัพท์ทุกวัน  ไม่โดยตรงก็โดยทางอ้อม  โดยเฉพาะทางสื่อมวลชน

ประโยชน์ของการเรียนรู้ราชาศัพท์
              เพราะเหตุที่ว่าสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันที่สูงสุดของประเทศมาแต่โบราณ  พระเจ้าแผ่นดินทรงใกล้ชิดกับประชาชนอย่างแนบแน่นประการหนึ่ง  คำราชาศัพท์นั้นเป็นแบบอย่างวัฒนธรรมอันดีทางด้านการใช้ภาษาไทยประการหนึ่ง  และการอ่านหรือศึกษาวรรณคดีก็ดี  การรับสารสื่อมวลชนในปัจจุบันก็ดี  เหล่านี้ล้วนต้องมีคำราชาศัพท์เกี่ยวข้องอยู่ด้วยเสมออีกประการหนึ่ง ดังนั้นการเรียนรู้คำราชาศัพท์จึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมมากมาย  ดังจะเห็นได้ดังต่อไปนี้
                 ประโยชน์ทางตรง
                    เป็นประโยชน์ที่เกิดจากการตั้งเป้าหมายไว้ล่วงหน้า อันได้แก่

                      ๑.  ประโยชน์จากการใช้คำราชาศัพท์ถูกต้อง  ที่เรียกว่าใช้คำราชาศัพท์ถูกต้องนั้น  คือ  ถูกต้องตามบุคคลที่ใช้ว่าบุคคลใดควรใช้ราชาศัพท์ขั้นไหน  อย่างไรประการหนึ่ง  ถูกต้องตามโอกาส  คือ  โอกาสใดใช้คำราชาศัพท์หรือไม่เพียงใดประการหนึ่ง  และถูกต้องตามวิธีการใช้คือ ใช้ถูกต้องตามแบบแผนที่นิยมนั้นก็อีกประการหนึ่ง  การใช้ราชาศัพท์ต้องใช้ทั้งความรู้และประสบการณ์เป็นดุลยพินิจให้ถูกต้อง
                      ๒.  ประโยชน์จากการเข้าใจที่ถูกต้อง  ไม่ว่าจากการอ่านหนังสือประเภทต่าง ๆ เช่น  วรรณกรรมทั่วไป  วรรณคดี  หนังสือพิมพ์  สิ่งพิมพ์ทั้งหลาย  โทรทัศน์  วิทยุ  ตลอดจนสิ่งบันเทิงทั้งหลาย  มีภาพยนตร์  ละคร  โขน  ลิเก  เป็นต้น  เพราะการรับรู้  รับฟัง  บางครั้งต้องมีสิ่งที่เรียกว่า  คำราชาศัพท์ร่วมอยู่ด้วยเสมอ  ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ
              ประโยชน์โดยทางอ้อม
                 เป็นประโยชน์ผลพลอยได้  แม้ตั้งเป้าหมายไว้ล่วงหน้าหรือไม่ตั้งเป้าหมายไว้ก็ตาม  คือ เมื่อรู้คำราชาศัพท์ดี  ถูกต้อง  ฟังหรืออ่านเรื่องราวที่มีคำราชาศัพท์เข้าใจผลประโยชน์พลอยได้  ก็จะเกิดขึ้นเสมอ  ดังนี้
                    
 ๑.  ธำรงรักษาวัฒนธรรมอันดีงานของชาติไว้  คือ  รักษาให้คงอยู่ไม่เสื่อมสูญ   ถือเป็นการธำรงรักษาวัฒนธรรมและความมั่นคงของประเทศชาติ
                      ๒.  เพิ่มความมีเสน่ห์ในตัวบุคคล  คือ  บุคคลผู้รู้และใช้คำราชาศัพท์ได้อย่างถูกต้อง  เป็นการแสดงออกซึ่งความมีวัฒนธรรมอันดีงามทางภาษา

คำราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์  และ
พระบรมวงศานุวงศ์ลำดับพระราชอิสริยศักดิ์พระบรมราชวงศ์
              ๑.  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
,  สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
              ๒.  สมเด็จพระบรมราชินี
,  สมเด็จพระบรมราชชนนี,  สมเด็จพระยุพราช,
สมเด็จพระสยามบรมราชกุมารี
              ๓.  สมเด็จเจ้าฟ้า
              ๔.  พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้า
              ๕.  พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า  พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า
              ๖.  หม่อมเจ้า

มูลเหตุที่ทำให้เกิดราชาศัพท์
              คือ  ต้องการยกย่องให้เกียรติดังนั้นการศึกษาเรื่องคำราชศัพท์นี้  จึงแบ่งเป็น  ๒  ตอน ใหญ่ ๆ  คือ  ตอนที่  ๑  ศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์  และพระบรมวงศานุวงศ์  ตอนที่  ๒  ศัพท์สำหรับพระภิกษุสงฆ์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น