แนวคิดที่มาของการทำโครงงาน

              เนื่องจากวิชาภาษาไทยเป็นวิชาพื้นฐานของการเรียนทุกวิชา  และเป็นวิชาที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาไทยได้ถูกต้อง  ความรู้เกี่ยวกับภาษาไทยได้ถูกต้องเหมาะสมในโอกาสต่างๆและกาลเทศะ
          ราชาศัพท์  หมายถึง  คำศัพท์  และสำนวนที่ใช้สำหรับพระราชาและพระบรมวงศานุวงศ์  ซึ่งรวมทั้งคำที่คนอื่นใช้ในการพูดกับพระราชวงศ์  และในการพูดถึงพระราชวงศ์ด้วย  ภาษาไทยมีการใช้ราชาศัพท์มาตั้งแต่สมัยใดไม่มีหลักฐานที่จะยืนยันได้แน่นอน  คำราชาศัพท์เป็นการกำหนดคำและภาษาที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมอันดีงามของไทย  แม้คำราชาศัพท์จะมีโอกาสใช้ในชีวิตน้อย  แต่เป็นสิ่งที่แสดงถึงความละเอียดอ่อนของภาษาไทยที่มีคำหลายรูปหลายเสียงในความหมายเดียวกัน และเป็น  ลักษณะพิเศษของภาษาไทย  โดยเฉพาะใช้กับบุคคล

วัตถุประสงค์
              ๑.  เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา
              ๒
.  ศึกษาการจัดลำดับชั้นบุคคลที่จะต้องใช้ราชาศัพท์
              ๓
เพื่อศึกษาข้อสังเกตบางประการในการใช้ราชาศัพท์

ขอบเขตของโครงงาน
             
๑.ขอบเขตด้านเนื้อหา  การศึกษาครั้งนี้จะศึกษาเฉพาะ
                 ๑.๑  ศึกษาประวัติความเป็นมา
                 ๑.๒  ศึกษาการจัดลำดับชั้นบุคคลที่จะต้องใช้ราชาศัพท์
                 ๑.๓  ศึกษาข้อสังเกตบางประการในการใช้ราชาศัพท์

วิธีการดำเนินงาน
              ๑
เลือกหัวข้อที่น่าสนใจ
              ๒.  รวบรวมเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
              ๓.  เรียบเรียงเนื้อหา
              ๔.  จัดพิมพ์เนื้อหา
              ๕.  ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา

ประโยชน์ที่ได้รับ
              ๑.  ทำให้ทราบถึงประวัติความเป็นมาของคำราชาศัพท์ได้
              ๒.  ทำให้ทราบการจัดลำดับชั้นบุคคลที่จะต้องใช้ราชาศัพท์
              ๓.  ทำให้ทราบข้อสังเกตบางประการในการใช้ราชาศัพท์

นิยามศัพท์
              ราชาศัพท์  หมายถึง  ถ้อยคำที่คนทั่วไปใช้เมื่อพูดกับหรือพูดกับพระเจ้าแผ่นดินและพระราชวงศ์หรือพระญาติของพระเจ้าแผ่นดิน  คำที่ใช้กล่าวถึงสิ่งต่าง ๆ  ที่เป็นของพระเจ้าแผ่นดินและพระราชวงศ์  หรือเกี่ยวกับพระเจ้าแผ่นดินและพระราชวงศ์ต้องเป็นคำราชาศัพท์
              กษัตริย์  หรือ  พระมหากษัตริย์  คือประมุขหรือผู้ปกครองสูงสุดของรัฐ  ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือในราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ  ปัจจุบันพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มีน้อยมากซึ่งส่วนใหญ่  เป็นประเทศขนาดเล็ก  พระมหากษัตริย์เป็นได้ด้วยการสืบสันตติวงศ์หรือโดยการยึดอำนาจจากพระมหากษัตริย์พระองค์เดิมแล้วปราบดาภิเษกตนเองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ 
              พระบรมวงศานุวงศ์  หมายถึง  พระประยูรญาติใหญ่น้อยทั้งหมดทุก
ราชสกุลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
              พระสงฆ์
  หมายถึง  หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า  ผู้ซึ่งฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วเลื่อมใส สละเรือนออกบวช  ถือวัตร  ปฏิบัติ  ตามพระธรรมวินัยที่พระบรมศาสดาสั่งสอนและกำหนดไว้
              สามเณร  หมายถึง
  นักบวชชายในพระพุทธศาสนาที่มีอายุน้อย  ยังมิได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ
              ข้าราชการ  คือ  คนที่ทำราชการตามทำเนียบ  ผู้ปฏิบัติราชการในส่วนราชการ
(กฎ)  บุคคลซึ่งรับราชการ  โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน  เช่น
ข้าราชการพลเรือน  ข้าราชการการเมือง  ข้าราชการครู  ข้าราชการทหาร  ข้าราชการตุลาการ ข้าราชการอัยการ
              สุภาพชน  คือ  ผู้ที่แต่งกายเรียบร้อย
ผู้ที่มีกิริยามารยาทอ่อนโยน  พูดจาเรียบร้อย      รู้กาลเทศะ  
              การพูด  คือ  การใช้ถ้อยคำ  น้ำเสียง  รวมทั้งกริยาอาการถ่ายทอดความคิด  ความรู้  ความรู้สึก  และความต้องการของผู้พูดให้ผู้ฟังรับรู้และเกิดการตอบสนอง  การพูดที่ดี  จึงเป็นการใช้ถ้อยคำน้ำเสียงรวมทั้งกริยาอาการอย่างมีประสิทธิภาพถูกต้องตามจรรยามารยาทและประเพณีนิยมของสังคมเพื่อถ่ายทอดความคิด  ความรู้  ความรู้สึก  และความต้องการที่เป็นประโยชน์สัมฤทธิ์ผลตรงตามจุดมุ่งหมายของผู้พูด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น